วิศวกรอาคารต้องรู้ EP.6: ระบบความปลอดภัยอัคคีภัย – ไม่ใช่แค่ดับไฟ แต่ต้องช่วยชีวิตได้จริง
- Chakrapan Pawangkarat
- Apr 20
- 2 min read
จักรพันธ์ ภวังคะรัตน์
Head of Property and Asset Management, JLL Thailand
เลขาธิการ สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
20 April 2025

จากซีรีส์: วิศวกรอาคารต้องรู้
ระบบอัคคีภัยในอาคารไม่ใช่แค่ “มีไว้ผ่านตรวจ”แต่คือระบบช่วยชีวิต ที่ต้องพร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพราะ “ไฟไหม้ไม่เคยมีวันหยุด”และ “วิศวกรอาคาร” คือผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในนาทีวิกฤต
1. ระบบตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)
Smoke / Heat Detector ตรวจจับควันหรือความร้อน
Manual Pull Station จุดกดแจ้งเหตุด้วยมือ
Alarm Bell / Beacon Light ส่งสัญญาณเตือน
Fire Alarm Control Panel ควบคุมและแสดงสถานะระบบทั้งหมด
ต้องเชื่อมต่อกับ Control Room และระบบ BMS
วิศวกรต้องตรวจสอบ:
Fault Alarm มีหรือไม่
ทดสอบสัญญาณเสียง/ไฟเป็นรายเดือน
เช็กแบตเตอรี่สำรองให้พร้อมใช้งานเสมอ
2. ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ (Water-Based Fire Protection Systems)
2.1 Sprinkler System
หัวฉีดน้ำทำงานอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดกำหนด
ทำงานเฉพาะหัวที่เจอความร้อน
ต่อกับระบบ Fire Pump และถังเก็บน้ำ
2.2 Manual Hose Reel / Hydrant
สำหรับเจ้าหน้าที่หรือผู้มีทักษะ
ต้องมีความดันใช้งานเพียงพอ
ต้องติดป้ายคำแนะนำใช้งาน
2.3 Standpipe System
ท่อหลักจ่ายน้ำทั่วอาคาร ให้เจ้าหน้าที่ต่อสายดับเพลิงได้
ใช้ร่วมกับรถดับเพลิง
2.4 Fire Pump System
ประกอบด้วย Jockey Pump, Electric Main Pump, Diesel Pump
ทำงานอัตโนมัติเมื่อแรงดันลด
ต้องมีไฟสำรองแยกจากระบบหลัก
วิศวกรต้องตรวจสอบ:
ทดสอบปั๊มน้ำทุกสัปดาห์
เช็กแรงดัน, สถานะ Battery, น้ำมันดีเซล
ตรวจสอบหัวฉีด / Valve / Flow Switch ทุกเดือน
บันทึกลง Log Book อย่างครบถ้วน
3. ระบบดับเพลิงเฉพาะที่ (Special Fire Suppression)
เช่น FM-200, CO₂, Chemical
ใช้ในห้อง Server, ห้อง MDB, ห้องครัว
ต้องมีระบบตรวจจับควบคุมและระบบระบายอากาศหลังฉีด
สิ่งที่วิศวกรต้องตรวจสอบ:
ตรวจวัดแรงดันถัง
เช็กการทำงานของ Control Panel
ทดสอบระบบตามรอบมาตรฐานของผู้ผลิต
4. ระบบควบคุมควัน (Smoke Control Systems)
4.1 Pressurised Staircase
รักษาแรงดันบันไดหนีไฟไม่ให้ควันเข้ามา
ใช้พัดลมแรงดันสร้างค่า ~50–60 Pa
เชื่อมต่อ Fire Alarm ทำงานอัตโนมัติ
4.2 Pressurised Fireman Lift Lobby
แรงดัน ~50-60 Pa ป้องกันควันในโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิง
ใช้พัดลมแยกต่างหาก พร้อมไฟสำรอง
4.3 Smoke Exhaust System
พัดลมดูดควันออกจากพื้นที่ต้นเพลิง
เชื่อมกับ Duct / Smoke Damper / Smoke Detector
มี Manual Override ให้เจ้าหน้าที่ควบคุม
วิศวกรต้องตรวจสอบ:
วัดแรงดันจริงด้วย Pressure Gauge
ทดสอบการทำงานของพัดลมและสัญญาณ
เช็กจุดรั่วในระบบท่อ / Duct / Damper
5. ข้อกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
กฎกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)
อาคารสูงต้องมี Fire Alarm, Fire Pump, Sprinkler, Fireman Lift
ต้องมีระบบ Pressurised Stair / Fireman Lift Lobby
ต้องมีทางหนีไฟ แสงสว่างฉุกเฉิน และระบบไฟสำรอง
กฎกระทรวงความปลอดภัย พ.ศ. 2554 / 2564
ระบบอัคคีภัยในสถานประกอบการต้องตรวจสอบและบำรุงรักษา
ระบบพิเศษ เช่น FM-200 ต้องทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
ต้องมีแผนฝึกซ้อมอพยพและบันทึกผลทุกปี
บทบาทของวิศวกรอาคาร
วางแผน PM ครอบคลุมทุกระบบ
ตรวจสอบอุปกรณ์ สื่อสารกับผู้เช่า และบริหารทีมช่าง
จัดเก็บเอกสาร ตรวจสอบประวัติการทดสอบและบำรุงรักษา
ทำงานร่วมกับ BMS และ Fire Panel อย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมแผนหนีไฟร่วมกับผู้เช่า และจัดการซ้อมอพยพ
สรุปท้ายบท
ระบบอัคคีภัยไม่ใช่แค่ให้ “มี” แต่ต้อง “พร้อมทำงานได้จริง”และต้องไม่ลืมว่า “ควัน” มาถึงก่อน “ไฟ”ใครที่ทำให้ระบบพร้อม 100% อยู่เสมอ ก็คือ “วิศวกรอาคาร” ที่ไม่เคยประมาท
EP.7: ระบบ BAS และ Smart Building – เมื่ออาคารคิดเองได้ วิศวกรต้องรู้ทันระบบอัจฉริยะรอติดตามได้ที่ www.jack-journal.com และเพจ Jack Journal มีเรื่องมาเล่า
Comments