top of page

Design for Maintainability: ออกแบบอาคารให้บำรุงรักษาง่าย ตั้งแต่วันแรก



จักรพันธ์ ภวังคะรัตน์

Head of Property and Asset Management, JLL Thailand

เลขาธิการ สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

4 May 2025


ในโลกของการออกแบบอาคารสมัยใหม่ “ความสวย” หรือ “ความหรูหรา” ไม่ใช่เป้าหมายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ “ความง่ายในการบำรุงรักษา” กลายเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ออกแบบทุกสายงานต้องคิดตั้งแต่วันแรก


แนวคิดนี้เรียกว่า Design for Maintainability (DfM)คือการออกแบบอาคารโดยคำนึงถึง ความสะดวก ปลอดภัย และประหยัด ในการดูแลรักษา ตลอดอายุการใช้งานของอาคาร


บทความนี้ชวนมาดูกันว่า DfM สำคัญอย่างไร? และ แต่ละสายงานควรพิจารณาอะไรบ้าง?


ทำไม DfM ถึงสำคัญ?

  • อาคารมีอายุใช้งานนานกว่า 30-50 ปี

  • ทุกระบบ ทุกวัสดุ ย่อมเสื่อมสภาพและต้องซ่อมบำรุง

  • หากไม่ได้ออกแบบให้ซ่อมง่าย → เสียเวลาปิดอาคาร แกะฝ้า ทุบผนัง เสี่ยงอุบัติเหตุ และเสียค่าใช้จ่ายสูง

อาคารที่ “ดูแลยาก” จะเป็นภาระทั้งต่อเจ้าของ ผู้ดูแล และผู้ใช้งานในระยะยาว


หลักการ Design for Maintainability

  1. เข้าถึงง่าย (Accessibility):

    ทุกระบบต้องมีทางเข้าถึงเพื่อตรวจสอบและซ่อม เช่น shaft, access panel, hatch บนฝ้า


  2. ลดความซับซ้อน (System Simplification):

    เดินท่อ-สายไฟให้เป็นระเบียบ ไม่ซ้อนกันหลายชั้น


  3. วัสดุทนทาน (Durability):

    เลือกวัสดุที่อายุใช้งานนาน ทนต่อสภาพอากาศ การใช้งานหนัก


  4. เผื่อพื้นที่ซ่อม (Maintenance Space):

    เว้นระยะรอบอุปกรณ์ เช่น AHU, Pump ตามมาตรฐาน ไม่ติดแน่นจนซ่อมไม่ได้


  5. ปลอดภัยเวลาซ่อม (Safe Maintenance):

    ออกแบบทางเดินบนดาดฟ้า จุด anchor สำหรับ fall arrest rail บนหลังคา


DfM ในแต่ละสายงาน


สถาปนิก

  • ผนังภายนอก: เลือกวัสดุ self-cleaning หรือติด gondola rail สำหรับทำความสะอาด facade

  • หลังคา: เผื่อทางเดิน service และติดจุด lifeline

  • ห้องน้ำ: เผื่อ access panel สำหรับซ่อม plumbing โดยไม่รื้อผนังหรู


วิศวกรโครงสร้าง

  • เผื่อช่องตรวจสอบ joint

  • ออกแบบ connection ที่เข้าถึงได้ง่าย


วิศวกร MEP

  • ระบบไฟฟ้า: เดินสายไฟใน trunking ที่เปิดดูได้ ไม่ซ่อนถาวร

  • ระบบปรับอากาศ: วาง FCU, AHU ในจุดที่เข้าถึง coil, filter, motor ง่าย

  • ระบบสุขาภิบาล: เผื่อ access door ตามแนวท่อสำคัญ


ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ DfM ทำให้ชีวิตดีขึ้น

  • เคยมั้ย? ต้องปีนบันไดสูงเพื่อเปลี่ยนไฟบนฝ้า 4 เมตร→ DfM จะแนะนำให้เลือก fixture ที่ lowerable หรือใช้ lift เข้าถึงได้ง่าย

  • เคยมั้ย? ท่อน้ำรั่วแต่ต้องทุบผนัง marble หรูเพื่อหาจุดซ่อม→ DfM แนะนำ access panel ซ่อนในแนว seam ผนัง หรือ shaft ที่ตรวจสอบได้


DfM = คุณภาพ + ความยั่งยืน

การนำ DfM มาประยุกต์ใช้ ไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาแต่ยังช่วยให้อาคาร ปลอดภัย ใช้งานได้ต่อเนื่อง และดูแลรักษาได้ง่ายในระยะยาวทำให้อาคาร “น่าอยู่ น่าดูแล” สำหรับทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และผู้ใช้


สรุปสุดท้าย: อย่ารอแก้ตอนสร้างเสร็จ คิดเรื่อง “ซ่อม” ตั้งแต่วันแรกที่ออกแบบ

เพราะ “อาคารที่ออกแบบเพื่อบำรุงรักษา” จะดูดีได้… ตลอดชีวิตการใช้งาน



Comentarios


Chakrapan Pawangkarat

  • Facebook
  • LinkedIn
  • Instagram
bottom of page